ประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
- Category: ข้อมูลทั่วไป
- Published: Thursday, 12 November 2020 09:38
- Written by Administrator
- Hits: 1385
ประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
ประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
กฏหมายและระเบียบท้องถิ่น
1.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พ.ศ.2560
2.พระราชบัญญัติเทศบาล_พ.ศ.2496(ฉบับที่ 13)พ.ศ.2552
3.พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ_พ.ศ.2560
4.พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น_พ.ศ.2542
5.พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ_พ.ศ.2540
6.พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร_พ.ศ. 2522และที่แก้ไขเพิ่มเติม
7.พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่_พ.ศ.2539
8.พระราชบัญญัติบริหารงานบุคคล_พ.ศ.2542
9.พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น_พ.ศ.2560
10พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน_พ.ศ.2475และที่แก้ไขเพิ่มเติม
11.พระราชบัญญัติภาษีป้าย_พ.ศ.2510และที่แก้ไขเพิ่มเติม
12.พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน_พ.ศ.2534
13.พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง_พ.ศ. 2535และที่แก้ไขเพิ่มเติม
14.พระราชบัญญัติสาธารณสุข_พ.ศ.2535และที่แก้ไขเพิ่มเติม
15.พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง_พ.ศ.2539
16.ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ_พ.ศ.2544
17.ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงินจ่ายเงินรักษา2547ถึง2558
18.ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น_พ.ศ.2546
19.ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการใช้และรักษารถยนต์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น_พ.ศ. 2548.PDF
20.ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ_พ.ศ.2526และที่แก้ไขเพิ่มเติม
21.กฎกระทรวงกำหนดให้หน่วยงานอื่นเป็นหน่วยงานของรัฐตามพรบ.จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ_พ.ศ.2560.PDF
22.กฎกระทรวงกำหนดวงเงินการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจงวงเงินการจัดซื้อจัดจ้าง.PDF
23.กฎกระทรวงควบคุมสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ_พ.ศ. 2560.PDF
24.กฎกระทรวงสุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไป_พ.ศ. 2560.PDF
25.กฎกระทรวงกำหนดพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนและกำหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีคัดเลือกและวิธีเฉพาะเจาะจง_พ.ศ.2560.PDF
26.ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการจัดการมูลฝอย_พ.ศ.2560.PDF
27.ประกาศคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.PDF
28.ประกาศคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของทางราชการเรื่องกำหนดให้ข้อมูลข่าวสาร.PDF
29.ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องกำหนดแบบเอกสารตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ_พ.ศ.2544.PDF
30.ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องกำหนดแบบเอกสารตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ(ฉบับที่2)พ.ศ. 2561.PDF
31.คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่8-2560.PDF
32.พรบ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562.PDF
33.พรบ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562
34.ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น พ.ศ. 2555 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559
35.ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม และการเข้ารับการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น พ.ศ. 2557.PDF
36.หลักเกณฑ์และแนวทางการเบิกค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการและเข้ารับการฝึกอบรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
37.ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562
กฏหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสภาท้องถิ่น
38.ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2561
39.ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561
40.พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
41.ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543
42.ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
43.พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549
44.พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562
ภารกิจ อำนาจหน้าที่
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงมะลู
มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ได้กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม[1] ภารกิจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลจึงมีขอบข่ายงานที่กว้างขวางอีกทั้ง พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542
กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขต อบต. ดังต่อไปนี้ (2)
นอกจากนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลอาจจัดทำกิจการในเขต อบต. ดังต่อไปนี้ (3)
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น ไม่เป็นการตัดอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐในอันที่จะดำเนินกิจการใด ๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในตำบล แต่ต้องแจ้งให้องค์การบริหารส่วนตำบลทราบล่วงหน้าตามสมควร ในกรณีนี้หากองค์การบริหารส่วนตำบลมีความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการดังกล่าว ให้กระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ นำความเห็นขององค์การบริหารส่วนตำบลไปประกอบการพิจารณาดำเนินกิจการนั้นด้วย (4)
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลและข่าวสารจากทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการของทางราชการในตำบล เว้นแต่ข้อมูลหรือข่าวสารที่ทางราชการถือว่าเป็นความลับเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ [5]
องค์การบริหารส่วนตำบลอาจออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรืออำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในการนี้จะกำหนดค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บและกำหนดโทษปรับผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้ แต่มิให้กำหนดโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น (6)
ในส่วนของการบริหารงานนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลบึงมะลูมีการจัดแบ่งการบริหารงานออกเป็น สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล กองคลัง กองช่าง กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และกองสวัสดิการสังคม ที่องค์การบริหารส่วนตำบลได้ตั้งขึ้น โดยมีพนักงานส่วนตำบลเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน และองค์การบริหารส่วนตำบลสามารถขอให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ไปดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลชั่วคราวได้โดยไม่ขาดจากต้นสังกัดเดิม โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจอนุญาตได้ตามความจำเป็น และในกรณีที่เป็นข้าราชการซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด ให้กระทรวงมหาดไทยทำความตกลงกับหน่วยงานต้นสังกัดก่อนแต่งตั้ง
นอกจากนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลอาจทำกิจการนอกเขต องค์การบริหารส่วนตำบลหรือร่วมกับสภาตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น เพื่อกระทำกิจการร่วมกันได้ ทั้งนี้ เมื่อได้รับความยินยอมจากสภาตำบลองค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง และกิจการนั้นเป็นกิจการที่จำเป็นต้องทำและเป็นการเกี่ยวเนื่องกับกิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตน (7)
อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้กำหนดให้รัฐต้องกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งในฐานะที่องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง รัฐก็ต้องกระจายอำนาจให้กับองค์การบริหารส่วนตำบล โดยได้มีการกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนใน ท้องถิ่นของตนเองดังนี้ (8)
องค์การบริหารส่วนตำบลบึงมะลู มีความสำคัญต่อชุมชน (หมู่บ้าน/ตำบล) ดังนี้
1. เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่พัฒนาตำบล ให้เจริญก้าวหน้าทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
2. เป็นหน่วยงานประสานทรัพยากรระหว่าง อบต.กับท้องถิ่นอื่นๆ รวมทั้งหน่วยราชการ และหน่วยเอกชนอื่นๆ
3. เป็นเวทีประชาธิปไตยของประชาชนในการเลือกสมาชิกสภาท้องถิ่น (สมาชิกสภา อบต.) เข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจใช้งบประมาณ รายได้ ทรัพย์สินและระดมทุนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่น
4. เป็นการส่งเสริมและพัฒนาคนในท้องถิ่น ให้ทำงานเพื่อท้องถิ่นของตนก่อให้เกิดการจ้างงานขึ้นในท้องถิ่น เช่น สมาชิกสภา อบต. พนักงานและลูกจ้างของ อบต.
5. ส่งเสริมสิทธิและหน้าที่ของประชาชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นตรวจสอบการทำงานและใช้สิทธิถอดถอนผู้แทนของตน (สมาชิกสภา) ทีไม่ทำงานเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น
องค์การบริหารส่วนตำบล มีโครงสร้างประกอบด้วย
1. สภาองค์การบริหารส่วนตำบล (สภา อบต.)
2. คณะผุ้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล (นายก อบต. และรองนายก อบต.)
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่
1. ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาตำบล
2. ให้ความเห็นชอบร่างข้อบังคับตำบล/ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
3. ควบคุมการทำงานของคณะผู้บริหาร
4. เข้าร่วมประชุมสภา อบต. ตามสมัยประชุม
บทบาทหน้าที่ของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล
บทบาทและหน้าที่ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็นผู้ที่จะต้องตรา "ข้อบังคับตำบล" ออกมาใช้ในการดูแลสวัสดิการ ตลอดจน "ทุกข์" และ "สุข" ของประชาชนรวมทั้งมีอำนาจหน้าที่ถอดถอนผู้บริหารหรือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ดังนั้น จึงต้องเป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตยที่ต้องเผยแพร่และปลูกฝังแนวคิดประชาธิปไตย ไปยังประชาชนในตำบล แนวทางปฏิบัติในด้านบทบาทและหน้าที่ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ มีดังนี้
1. ต้องยึดมั่นในกติกาประธิปไตย เช่น การเลือกตั้งโดยเสรี การใช้สิทธิคัดค้าน การโต้แย้ง การแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง การยอมรับและเคารพสิทธิของผู้อื่นการยอมรับความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย ฯลฯ
2. ต้องมีวิถีการดำเนินชีวิตและบุคลิกลักษณะที่เป็นการส่งเสริมประชาธิปไตย เช่น เป็นผู้มีจิตใจกว้างขวาง ฟังเคารพในเหตุผล
คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล (รองนายก อบต. และรองนายก อบต.) มีหน้าที่อะไรบ้าง
1. บริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามข้อบังคับ และแผนพัฒนาตำบล
2. จัดทำแผนพัฒนาตำบลและข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปีเสนอต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
3. รายงานผลการดำเนินงานและการใช้เงินให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลทราบ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
4. ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ทางราชการมอบหมายเข้าร่วมประชุมกับสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ตามสมัยประชุม
ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล มีสิทธิและหน้าที่ ดังนี้
1. มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา อบต.
2. ถอดถอนสมาชิกหรือผู้บริหาร อบต.
3. เสนอให้ออกข้อบังคับตำบล
4. แสดงเจตนารมณ์ในการรวม อบต.
5. เข้าฟังการประชุมสภา อบต.
6. เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการการซื้อ การจ้าง โดยวิธีสอบราคา ประกวดราคา และวิธีพิเศษของ อบต. อย่างน้อยคณะละ 2 คน
7. มีหน้าที่ไปเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต.
8. ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับตำบล
9. เสียภาษีแก่ อบต.
10. สนับสนุนและร่วมกิจกรรมกับ อบต.
11. ติดตามและดูแลการใช้จ่ายงบประมาณของ อบต.
12. ร่วมกันเสริมสร้างชุมชน และประชาคมหมู่บ้านของตนให้เข้มแข็ง
13. ได้รับบริการสาธารณะ และการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข จาก อบต. ตามอำนาจหน้าที่ของ อบต.
อ้างอิง
(1) พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 66
(2) พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ฉบับที่ 4 พ.ศ.2546 มาตรา 67
(3) พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ฉบับที่ 3 พ.ศ.2542 มาตรา 68
(4) พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 มาตรา 69
(5) พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 มาตรา 70
(6) พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ฉบับที่ 4 พ.ศ.2546 มาตรา 71
(7) พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 มาตรา 73
(8) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ พ.ศ.2542 มาตรา 16
สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับเอกสาร สารการจัดทำแผนพัฒนาสามปี การจัดทำร่างข้อบัญญัติ การจัดทำทะเบียนสมาชิกสภา อบต. และคณะผู้บริหาร การดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การให้คำปรึกษาหน้าที่และความรับผิดชอบการปกครองบังคับบัญชาพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้าง การบริหารงานบุคคลของ อบต. ทั้งหมด การดำเนินการเกี่ยวกับการอนุญาตต่างๆ และการปฏิบัติงานด้านสวัสดิการสังคม เกี่ยวกับการสังคมเคราะห์ การส่งเสริมการเกษตร การอนุรักษ์แหล่งน้ำ และป่าไม้ การให้คำปรึกษาแนะนำและตรวจสอบเกี่ยวกับงานสวัสดิการสังคมและ ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย แบ่งส่วนราชการภายใน ออกเป็น 5 งาน คือ
งานบริหารทั่วไป มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
งานนโยบายและแผน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
งานนโยบายและแผนพัฒนา
งานกฎหมายและคดี มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
งานกิจการสภา มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
งานส่งเสริการเกษตรและปศุสัตว์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
กองคลัง มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีและทะเบียน รับ จ่าย เงินงบประเภทงานเกี่ยวกับการเงิน การเบิกจ่ายเงินการ เก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน การตรวจเงิน อบต. รวบรวมสถิติเงินได้ประเภทต่างๆ การเบิกตัดปีการขยายเวลาเบิก จ่ายงบประมาณการหักภาษี และนำส่งรายการเงินคงเหลือประจำการรับและจ่ายขาดเงินสะสมของ อบต.การยืมเงินทดรอง ราชการ การจัดหาผลประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างและทรัพย์สิน ตรวจสอบงานของจังหวัดและสำนักงานตรวจ เงินแผ่นดิน การเร่งรัดใบสำคัญและใบเงินยืมค้างชำระ การจัดเก็บภาษี การประเมินภาษี การเร่งรัดจัดเก็บรายได้การพัฒนารายได้การออกใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมต่างๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง และที่ได้รับมอบหมายแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 4 งาน คือ
งานการเงิน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
งานบัญชี มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
งานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
กองช่าง มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการสำรวจออกแบบและจัดทำโครงการใช้จ่ายเงินของ อบต. การอนุมัติเพื่อดำเนินการตาม โครงการที่ตั้งจ่ายจากเงินรายได้ของ อบต. งานบำรุงรักษา ซ่อมแซม และจัดทำทะเบียนสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในความรับผิดชอบของ อบต. การให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำโครงการและการออกแบบก่อสร้างแก่ อบต. และหน่วงงานอื่นที่เกี่ยงข้อง งานควบคุมอาคาร การดูแลควบคุมปรึกษาซ่อมแซมวัสดุครุภัณฑ์และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องและงานที่ได้รับมอบหมายแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 4 งาน คือ
งานก่อสร้าง มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
งานออกแบบและควบคุมอาคาร มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
งานประสานและสาธารณูปโภค มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
งานผังเมือง มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
กองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีหน้าที่รับผิดชอบ งานบริหารวิชาการศึกษา งานเทคโนโลยีทางการศึกษา งานจัดการศึกษา งานทดสอบและประเมินตรวจวัดผล งานบริการและบำรุงสถานศึกษา งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก งานกิจการเด็กและเยาวชน งานกีฬาและสันทนาการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการศึกษา การส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และประเพณีอันดีงามของประชาชน การสนับสนุนบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ และทรัพย์สินต่างๆ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา จัดสถานที่เพื่อการศึกษา ส่งเสริมทำนุบำรุงรักษา ไว้ซึ่งศิลปะประเพณี ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีท้องถิ่น วัฒนธรรมด้านภาษา การดำเนินชีวิตส่งเสริมสนับสนุนการเล่นกีฬา การส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย แบ่งส่วนราชการภายใน ออกเป็น 3 งาน คือ
งานบริหารการศึกษา มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
งานส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
งานกิจการโรงเรียน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
โครงสร้างองค์กร